Tag - UHF

SIC-HF-UHF

HF หรือ UHF ตัวไหนที่เหมาะใช้งานกับสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำ

เทคโนโลยีบ่งชี้อัตลักษณ์ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (RFID) เป็นเทคโนโลยีที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับหลากหลายอุตสาหกรรม จึงทำให้มีการนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย ในการเลือกใช้งาน RFID นั้น จะต้องเลือกย่านความถี่ให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งานและปัญหาของแต่ละแอปพลิเคชัน โดยย่านความถี่สูงถือเป็นย่านที่มีการถูกใช้งานเป็นอย่างมาก  ความถี่พาหะ (Carrier Frequency) ของย่านความถี่สูงที่มีการใช้งานประกอบด้วย ความถี่สูง (High Frequency; HF) จะใช้ความถี่อยู่ที่ 13.56 MHz และ ความถี่สูงมาก (Ultra-High Frequency; UHF) จะใช้ความถี่ 2 ช่วงคือ 433 MHz หรือ 860 – 960 MHz ช่วงความถี่ที่แตกต่างกันนี้ ส่งผลต่อทั้งความเร็วในการสื่อสาร ระยะทางที่สามารถสื่อสารได้ รวมทั้งความสามารถในการสื่อสารผ่านสิ่งกีดขวางต่างๆ ซึ่งจะเหมาะสมกับรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ยิ่งความถี่สูง ความเร็วและระยะทางในการสื่อสารก็จะสูงตามไปด้วย แต่ก็ทำให้ได้รับผลกระทบจากสิ่งกีดขวางมากขึ้นด้วยเช่นกัน รวมไปถึงปัญหาการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำ ซึ่งแม้ว่าน้ำจะมีสภาพความนำไฟฟ้าต่ำ แต่ก็ส่งผลต่อการใช้งาน RFID ที่ความถี่สูงมากๆ อย่าง UHF ได้ชัดเจน ยิ่งถ้าน้ำนั้นมีปริมาณแร่ธาตุและเกลือแร่สูง จะทำให้สภาพการนำไฟฟ้าสูงขึ้น และจะยิ่งทำให้ UHF ได้รับผลกระทบมากตามไปด้วย  ดังนั้นการใช้งาน RFID ในย่าน HF จึงเหมาะสมและตอบโจทย์การใช้งานกับแอปพลิเคชันที่มีน้ำเข้ามาเป็นส่วนประกอบ รวมไปถึงคุณสมบัติต่างๆ ของ HF ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาและทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ในไลน์การผลิตเครื่องดื่ม หรือ กระบวนการซักรีด การนำคุณสมบัติป้องกันการชนของข้อมูล (Anti-Collision) ของ HF มาใช้ จะทำให้สามารถตรวจสอบข้อมูลจากแท็ก (Tag) ได้ครั้งละหลายๆ ตัว นอกจากจะทราบและบันทึกข้อมูลได้ตลอดแล้ว ยังไม่จำเป็นต้องเพิ่มเวลาสำหรับการดำเนินการส่วนนี้ จึงสามารถรักษาความเร็วได้เหมือนการผลิตโดยปกติ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับงานนั้นๆ ได้อย่างชัดเจน  นอกจากนี้ ด้วยระยะการอ่านของ HF ที่ไม่ไกลเกินไป...

Read more...
Automotive-RKE

เข้า(รถ)ได้ ไม่ต้องไข กับเทคโนโลยี Remote Keyless Entry

ระบบกุญแจ Keyless หรือระบบกุญแจที่ไม่ต้องใช้การ เสียบ บิด และไข  แท้จริงแล้วคือออีกหนึ่งเทคโนโลยี Radio Frequency Identification หรือ RFID ประเภทหนึ่ง เป็นการใช้คลื่นความถี่วิทยุในการระบุตัวตน ที่ใช้งานอย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวัน ได้แก่บัตรเข้าคอนโด, บัตรรถไฟฟ้า, บัตรจอดรถ, และอื่นๆ อีกมากมาย และที่พบเห็นอย่างมากคือ ยานพาหนะและรถยนต์ (Automotive) จากบล็อกก่อนหน้านี้ เราได้กล่าวถึง ระบบกุญแจอัจฉริยะสำหรับยานยนต์ หรือ Immobilizer ไปแล้ว ในครั้งนี้เราจะมาอธิบายระบบกุญแจรถยนต์อีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นระบบที่มีการประยุกต์ใช้งานร่วมกันกับ Immobilizer เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถและป้องกันการโจรกรรม นอกเหนือไปกว่านั้น ระบบนี้ยังช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้รถได้เป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นเทคโนโลยีหรือของใช้ที่จำเป็นสำหรับรถยนต์สมัยใหม่ นั่นคือ กุญแจรีโมท (Remote Keyless Entry: RKE)  Remote Keyless Entry หรือ RKE คืออะไร? ระบบกุญแจรีโมท หรือที่รู้จักกันในชื่อ “RKE” คือ ระบบหรือเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสถานที่ต่างๆ เช่น อาคาร บ้านเรือน รวมไปถึงยานพาหนะ โดยไม่จำเป็นต้องใช้กุญแจไข ซึ่งระบบนี้มักถูกใช้กับรถยนต์ เพื่อใช้เปิด-ปิด ประตูรถ ฝากระโปรงรถ รวมถึงสามารถสั่งการทำงานอุปกรณ์ภายในของรถยนต์ได้จากระยะไกล  เมื่อต้องการใช้งาน ผู้ใช้เพียงแค่กดปุ่มตัวรีโมท จากนั้นตัวรีโมทจะทำการส่งสัญญาณคลื่นวิทยุในย่านความถี่สูงมาก (UHF) ไปยังตัวรถที่มีการติดตั้งตัวรับสัญญาณ ระยะการทำงานของรีโมทนั้น สามารถทำงานได้ตั้งแต่ 20 เมตรขึ้นไป หรืออาจจะสูงมากถึง 100 เมตรเลยทีเดียว ซึ่งย่านความความถี่สูงนี้จะมีการใช้งานใน 3 ช่วงความถี่ ได้แก่ 315 MHz, 433 MHz, และ 868 MHz โดยในประเทศไทย ญี่ปุ่น และประเทศในแถบเอเชีย จะใช้ความถี่ย่าน 433 MHz เป็นหลัก  ระบบกุญแจ RKE มักถูกใช้งานในการเข้าถึง ปลดล็อกหรือล็อกประตูรถยนต์ เป็นส่วนใหญ่ ไม่ค่อยถูกใช้งานในการสตาร์ทรถหรือเครื่องยนต์มากนัก เนื่องจากระบบ RKE เป็นการสื่อสารทางเดียว คือ ส่งสัญญาณคลื่นวิทยุจากตัวรีโมทไปยังรถยนต์เท่านั้น  อย่างไรก็ตาม...

Read more...