สืบเนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้เร่งอัตราความต้องการปัจจัย 4 พื้นฐานมากยิ่งขึ้น เหนือสิ่งอื่นใดแล้วสิ่งที่มนุษย์ต้องการมากที่สุดคืออาหาร และจำเป็นต้องคำนึงถึงความสะอาด ปลอดภัย และกระบวนการการผลิตที่ถูกสุขลักษณะ ทำให้เกษตรกรจำเป็นต้องบริหารจัดการฟาร์มปศุสัตว์ให้ดีมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอและรองรับตามความต้องการของผู้บริโภคในยุคนี้
แล้วจะมีสิ่งใดที่จะมาช่วยเกษตรกรกับการควบคุมการผลิตนี้? หลายคนอาจจะเคยไปเยี่ยมชมฟาร์มปศุสัตว์กันมาบ้างแล้ว สงสัยกันไหมว่า ที่หูของวัวหรือแกะนั้นมีหน้าที่อะไร มันคือต่างหูสัตว์หรือป่าวนะ? ติดไปเพื่ออะไร? วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคนได้หายสงสัยกันครับ
สิ่งที่ติดอยู่กับหูของวัว หรือแกะนั้น คือ “Animal Identification Tag” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “Animal ID” นั่นเอง โดย Animal ID คือไมโครชิพสำหรับระบุตัวตนของสัตว์ เป็นการบอก ID หรือหมายเลขเฉพาะตัวของสัตว์ตัวนั้นๆ ซึ่งคล้ายๆ กับการที่คนเรามีหมายเลขประจำตัวประชาชน โดยเลข ID นี้ จะช่วยให้เจ้าของฟาร์มสามารถจดจำและจำแนกสัตว์แต่ละตัวได้ เนื่องจากการจำแนกจากลักษณะภายนอกคงเป็นเรื่องยาก นอกจากนี้ “Animal Tag” ยังสามารถใช้ในการนับจำนวนสัตว์ได้อีกด้วย
ยกตัวอย่างให้เข้าใจกันมากขึ้น เช่น การเลี้ยงวัว จำเป็นต้องปล่อยวัวออกไปทุ่งหญ้าด้านนอก ในขณะที่ต้อนวัวกลับมาเข้าคอก ณ จุดประตูทางเข้าคอกจะมีีเครื่องอ่านแท็ก หรือ RFID Reader และเมื่อวัวเดินผ่านประตู เครื่องอ่านจะเก็บ ID หรือข้อมูลของวัวแต่ละตัวเพื่อเป็นการตรวจสอบจำหนวน และสถานะของวัวนั่นเอง
การสื่อสารระหว่างตัว RFID Tag และ Reader นั้น เป็นการสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุไฟฟ้า หรือ RFID ด้วยคลื่นพาหะความถี่ต่ำ (Low Carrier Frequency) ที่ 134.2 kHz โดยรับส่งข้อมูลในช่วงระยะไม่เกิน 1 เมตร ซึ่งเทคโนโลยีนี้ทำให้เจ้าของฟาร์มสามารถตรวจสอบได้ทันที หากวัวกลับมาไม่ครบ โดยดูจากเลข ID ที่หายไปนั้นเอง
ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี (SIC) เป็นผู้ออกแบบและจำหน่ายไมโครชิพสำหรับป้ายระบบลงทะเบียนสัตว์ (Animal Identification Tags) หรือป้ายทะเบียนสัตว์อิเล็กทรอนิกส์ มาอย่างต่อเนื่องกว่า 18 ปี ด้วยจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ “SIC278” ได้แก่ ระยะในการสื่อสารที่ไกลกว่าคู่แข่งในเชิงเปรียบเทียบกว่า 10% และสอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำที่กำหนด ทำให้คู่ค้าของบริษัทที่นำผลิตภัณฑ์ไปใช้สามารถนำเสนอสินค้าที่มีคุณภาพที่โดดเด่น ในต้นทุนที่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
โดยประโยชน์ของการใช้งานของ Animal Tag หรือ Animal ID ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ครั้งหน้าเราจะพูดถึงการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในอีกรูปแบบสำหรับฟาร์มปศุสัตว์กันต่อ โปรดติดตามกันด้วยนะครับ