บทความ

SIC-HF-UHF

HF หรือ UHF ตัวไหนที่เหมาะใช้งานกับสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำ

เทคโนโลยีบ่งชี้อัตลักษณ์ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (RFID) เป็นเทคโนโลยีที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับหลากหลายอุตสาหกรรม จึงทำให้มีการนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย ในการเลือกใช้งาน RFID นั้น จะต้องเลือกย่านความถี่ให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งานและปัญหาของแต่ละแอปพลิเคชัน โดยย่านความถี่สูงถือเป็นย่านที่มีการถูกใช้งานเป็นอย่างมาก  ความถี่พาหะ (Carrier Frequency) ของย่านความถี่สูงที่มีการใช้งานประกอบด้วย ความถี่สูง (High Frequency; HF) จะใช้ความถี่อยู่ที่ 13.56 MHz และ ความถี่สูงมาก (Ultra-High Frequency; UHF) จะใช้ความถี่ 2 ช่วงคือ 433 MHz หรือ 860 – 960 MHz ช่วงความถี่ที่แตกต่างกันนี้ ส่งผลต่อทั้งความเร็วในการสื่อสาร ระยะทางที่สามารถสื่อสารได้ รวมทั้งความสามารถในการสื่อสารผ่านสิ่งกีดขวางต่างๆ ซึ่งจะเหมาะสมกับรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ยิ่งความถี่สูง ความเร็วและระยะทางในการสื่อสารก็จะสูงตามไปด้วย...

TechExEurope-SIC

พบกับ SIC ได้ที่นิทรรศการออนไลน์ TechEx Europe

TechEx Europe เป็นนิทรรศการและงานสัมมนาเกี่ยวกับเทคโนโลยี โดยประกอบด้วยเทคโนโลยี 4 ส่วนคือ IoT, AI & Big Data, Cyber Security & Cloud, และ Blockchain โดยงานนี้จะจัดรูปแบบออนไลน์ในวันที่ 23-26 พฤศจิกายน...

SIC-NSTDA-1

สายรัดข้อมือ (NFC Wristband) จากซิลิคอน คราฟท์ ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2563

ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมชมงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2563 โดยในงานนี้ประกอบด้วยกิจกรรมและความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างมากมาย เพื่อสร้างความรู้ แรงบันดาลใจ และทักษะสุดล้ำให้กับทุกคน  ผลิตภัณฑ์ต้นแบบสายรัดข้อมือ (NFC Wristband) เพื่อใช้สำหรับติดตามผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือผู้กักตัวในระหว่างกระบวนการกักกันตนเอง (Self-Quarantine) ที่พัฒนาจากไมโครชิป SIC43NT ของบริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ถูกจัดแสดงร่วมภายในบูธของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เนื่องจากสายรัดข้อมือต้นแบบเป็นความร่วมมือในการพัฒนาระหว่างบริษัทฯ และ สวทช. ถือเป็นนวัตกรรมตัวหนึ่งที่ช่วยป้องกันและลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้  สำหรับผู้ที่สนใจเข้าชม สามารถเข้าชมได้ที่ อาคารชาเลนเจอร์ 2 อิมแพค เมืองทองธานี ตั้งแต่วันนี้ - 23 พ.ย. นี้http://www.thailandnstfair.com/ 

Automotive-PKE

เข้าออกรถปลอดภัย ไม่ต้องใช้กุญแจ ด้วยเทคโนโลยี Passive Keyless Entry

จากบล็อกก่อนหน้านี้ เราได้กล่าวถึงระบบกุญแจรีโมท หรือ RKE ไปแล้ว ซึ่งเป็นหนึ่งในระบบการเข้ารถที่ไม่ต้องใช้กุญแจไข (Keyless Entry System) เป็นระบบที่อาศัยคลื่นวิทยุในการสื่อสารเพื่อล็อกและปลดล็อกรถ รวมไปถึงสตาร์ทเครื่องยนต์ด้วยในบางคัน โดยระบบการเข้ารถนี้มีอยู่ 2 ประเภท คือ Active และ Passive ซึ่ง RKE ที่กล่าวไปแล้วเป็นระบบแบบ Active ในบล็อกนี้เราจึงจะมาอธิบายเกี่ยวกับระบบ Passive หรือ Passive Keyless Entry (PKE)   Passive Keyless Entry (PKE) คืออะไร  จากชื่อของระบบคือ ‘Passive’ หมายความว่า ผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไรนั่นเอง โดยระบบ PKE เป็นระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับพาหนะและยานยนต์ ซึ่งสามารถทำงานได้อัตโนมัติ เพียงแค่เจ้าของรถมีกุญแจ และอยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกับตัวรถ โดยเจ้าของไม่ต้องกด หรือ หยิบกุญแจออกมาจากกระเป๋า ก็สามารถปลดล็อกและเข้ารถได้...

Animal ID

สัตว์ในฟาร์มกำลังป่วย เราจะรู้ได้อย่างไร

จากบทความครั้งก่อน เราได้กล่าวถึง Animal Identification Tag หรือ Animal ID ว่าคืออะไร และถูกนำมาใช้งานอย่างไรไปในเบื้องต้นแล้ว ในครั้งนี้เราจะมายกตัวอย่างการใช้งานและประโยชน์เพิ่มเติม เพื่อการจัดการและบริหารดูแลฟาร์มปศุสัตว์ให้ได้ดียิ่งขึ้น  ปัญหาที่พบได้บ่อยๆ ในสัตว์ต่างๆ เช่น วัว แพะ หรือ แกะ มักมีอาการป่วยได้ง่าย เป็นผลมาจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ความไม่แข็งแรงของร่างกาย หรือแม้กระทั่งการติดเชื้อใดๆ เป็นต้น โดยการป่วยของสัตว์เพียงหนึ่งตัวนั้น อาจมีการแพร่เชื้อและลุกลามไปยังตัวอื่นๆ ได้ และอาจทำให้สัตว์ทั้งหมดในฟาร์มป่วย ดังนั้นการติดตามสัตว์และป้องกันกระจายของเชื้อจึงเป็นเรื่องสำคัญ  แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสัตว์ตัวนั้นกำลังป่วย  เราสามารถทราบได้ว่าสัตว์ตัวนั้นกำลังป่วยหรือไม่ ทำได้ด้วยการวัดอุณหภูมิร่างกาย แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดที่ทำให้เราไม่สามารถวัดอุณหภูมิของสัตว์ได้ตลอดเวลา...

Reader-smartlock-banner

บ้านปลอดภัย ด้วยระบบล็อกประตูอัจฉริยะ (Smart Lock)

ในยุคดิจิทัลนี้ เทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นและเปลี่ยนกันรายนาที พร้อมกับการเร่งพัฒนาเทคโนโลยีที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบัน และเข้ามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเรามากขึ้น ในขณะเดียวกันบางสิ่งก็เข้ามาแทนที่กับสิ่งที่เคยมีมา เป็นการตอบสนองต่อความต้องการอย่างไร้ขีดจำกัดของมนุษย์ ทั้งในด้านความสะดวกสบาย ความทันสมัย ความฉลาด และความปลอดภัย  Smart Lock หรือระบบล็อกอัจฉริยะ คือเทคโนโลยีหนึ่งที่เกิดขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวก สร้างความปลอดภัย และความมั่นใจให้กับการล็อกประตู เพื่อแทนที่การใช้งานแบบเดิมๆ ซึ่งอาจจะไม่ได้ตอบโจทย์การใช้งานในยุคปัจจุบันอีกต่อไป อย่างเช่น ระบบล็อกธรรมดาแบบไขกุญแจ ระบบล็อกรหัสแบบหมุน หรือแม้กระทั่งระบบรหัสอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น แต่ระบบเหล่านี้ ล้วนถือเป็นต้นกำเนิดของ Smart Lock  Smart Lock เป็นระบบล็อกเครื่องกลไฟฟ้า ใช้การสื่อสารแบบไร้สายหรือเทคโนโลยี RFID และมีการเข้ารหัส เพื่อให้สามารถล็อกและปลดล็อกประตูได้ โดยระบบล็อกประกอบด้วย 2 ส่วน คือ...

NFC-anti-counterfeiting

การประยุกต์ใช้ NFC เพื่อป้องกันการปลอมแปลงสินค้า

ปัจจุบันผู้คนหันมาซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้นจนกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว เจ้าของสินค้าไม่จำเป็นต้องพบเจอหน้าลูกค้าในการขายสินค้าอีกต่อไป เพียงแค่ใช้ช่องทางออนไลน์ก็สามารถสื่อสารคุณสมบัติต่าง ๆ ของสินค้า พร้อมพูดคุยโต้ตอบกันได้เสมือนเจอหน้ากัน อีกทั้งยังเข้าถึงจำนวนผู้ซื้อได้มากขึ้นอีกด้วย ในมุมมองของผู้บริโภคเองการใช้ช่องทางออนไลน์ก็ทำให้การซื้อของมีความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น  แต่ก็มีข้อกังขาเรื่องของที่มาของสินค้ากันอยู่บ้างว่าสินค้าที่ซื้อ-ขายกันอยู่นั้นผลิตโดยเจ้าของผู้ผลิตที่ต้องการจริงๆหรือไม่ ในเมื่อทั้งผู้ซื้อและผู้ขายรายย่อยอาจไม่เคยได้สัมผัสหรือแม้แต่เห็นสินค้าของจริงก่อนชำระเงินเลยด้วยซ้ำ เหตุนี้เองสินค้าลอกเลียนแบบมักสร้างมูลค่าความเสียหายจำนวนมากต่อทั้งผู้ผลิต ผู้ขายรายย่อยและผู้บริโภค จึงทำให้เกิดหลากหลายวิธีการที่ถูกนำมาใช้เพื่อทำให้สินค้านั้นสามารถถูกตรวจสอบได้ว่าเป็นของแท้ เช่น Serial Number, Barcode หรือ QR Code แต่วิธีเหล่านี้ ยังคงมีโอกาสที่จะถูกลอกเลียนแบบและทำซ้ำได้ไม่ยากลำบาก...

SIC-EE-Chula

ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี เปิดบ้านต้อนรับนักศึกษาวิศวะไฟฟ้า จุฬาฯ

ดร.บดินทร์ เกษมเศรษฐ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ให้การต้อนรับคณาจารย์ และคณะนักศึกษาสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมบริษัทฯ และศึกษานวัตกรรมใหม่ในการคิดค้นและพัฒนาไมโครชิพ RFID สำหรับภาคธุรกิจที่ผลิตสินค้าและใช้เทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล

Automotive-RKE

เข้า(รถ)ได้ ไม่ต้องไข กับเทคโนโลยี Remote Keyless Entry

ระบบกุญแจ Keyless หรือระบบกุญแจที่ไม่ต้องใช้การ เสียบ บิด และไข  แท้จริงแล้วคือออีกหนึ่งเทคโนโลยี Radio Frequency Identification หรือ RFID ประเภทหนึ่ง เป็นการใช้คลื่นความถี่วิทยุในการระบุตัวตน ที่ใช้งานอย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวัน ได้แก่บัตรเข้าคอนโด, บัตรรถไฟฟ้า, บัตรจอดรถ, และอื่นๆ อีกมากมาย และที่พบเห็นอย่างมากคือ ยานพาหนะและรถยนต์ (Automotive) จากบล็อกก่อนหน้านี้ เราได้กล่าวถึง ระบบกุญแจอัจฉริยะสำหรับยานยนต์ หรือ Immobilizer ไปแล้ว ในครั้งนี้เราจะมาอธิบายระบบกุญแจรถยนต์อีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นระบบที่มีการประยุกต์ใช้งานร่วมกันกับ Immobilizer เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถและป้องกันการโจรกรรม นอกเหนือไปกว่านั้น ระบบนี้ยังช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้รถได้เป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นเทคโนโลยีหรือของใช้ที่จำเป็นสำหรับรถยนต์สมัยใหม่ นั่นคือ กุญแจรีโมท (Remote Keyless Entry: RKE)  Remote Keyless Entry หรือ RKE คืออะไร? ระบบกุญแจรีโมท หรือที่รู้จักกันในชื่อ “RKE” คือ ระบบหรือเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสถานที่ต่างๆ เช่น อาคาร...

Animal ID-Smart Farm

ยกระดับปศุสัตว์ให้เป็น Smart Farm ด้วย Animal Tag

สืบเนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้เร่งอัตราความต้องการปัจจัย 4 พื้นฐานมากยิ่งขึ้น เหนือสิ่งอื่นใดแล้วสิ่งที่มนุษย์ต้องการมากที่สุดคืออาหาร และจำเป็นต้องคำนึงถึงความสะอาด ปลอดภัย และกระบวนการการผลิตที่ถูกสุขลักษณะ ทำให้เกษตรกรจำเป็นต้องบริหารจัดการฟาร์มปศุสัตว์ให้ดีมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอและรองรับตามความต้องการของผู้บริโภคในยุคนี้  แล้วจะมีสิ่งใดที่จะมาช่วยเกษตรกรกับการควบคุมการผลิตนี้? หลายคนอาจจะเคยไปเยี่ยมชมฟาร์มปศุสัตว์กันมาบ้างแล้ว สงสัยกันไหมว่า ที่หูของวัวหรือแกะนั้นมีหน้าที่อะไร มันคือต่างหูสัตว์หรือป่าวนะ? ติดไปเพื่ออะไร? วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคนได้หายสงสัยกันครับ  สิ่งที่ติดอยู่กับหูของวัว หรือแกะนั้น คือ “Animal Identification Tag” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “Animal ID” นั่นเอง โดย Animal ID คือไมโครชิพสำหรับระบุตัวตนของสัตว์ เป็นการบอก ID หรือหมายเลขเฉพาะตัวของสัตว์ตัวนั้นๆ ซึ่งคล้ายๆ กับการที่คนเรามีหมายเลขประจำตัวประชาชน โดยเลข ID นี้ จะช่วยให้เจ้าของฟาร์มสามารถจดจำและจำแนกสัตว์แต่ละตัวได้ เนื่องจากการจำแนกจากลักษณะภายนอกคงเป็นเรื่องยาก นอกจากนี้ “Animal Tag” ยังสามารถใช้ในการนับจำนวนสัตว์ได้อีกด้วย ยกตัวอย่างให้เข้าใจกันมากขึ้น เช่น การเลี้ยงวัว จำเป็นต้องปล่อยวัวออกไปทุ่งหญ้าด้านนอก ในขณะที่ต้อนวัวกลับมาเข้าคอก ณ จุดประตูทางเข้าคอกจะมีีเครื่องอ่านแท็ก หรือ RFID Reader และเมื่อวัวเดินผ่านประตู เครื่องอ่านจะเก็บ ID หรือข้อมูลของวัวแต่ละตัวเพื่อเป็นการตรวจสอบจำหนวน...